เชื่อว่าหลายคนที่กำลังจะเรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์หรือเรียนจบไปแล้ว คงเคยมีความคิดว่าอยาก ไปหาประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศ แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร ข้อมูลในส่วนนี้ได้ถูกรวบรวมจากประสบการณ์ของผู้เขียนเพื่อบอกเล่าขั้นตอนต่างๆ ว่าจะทำอย่างไรถ้าเราเรียนจบจากประเทศไทย แล้วต้องการที่จะไปหาประสบการณ์ที่ต่างประเทศ แต่จะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

Blog ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับรายละเอียดและแนวข้อสอบ

Wednesday, July 30, 2008

บทนำ

สวัสดีครับ เว็บไซต์นี้เปิดเพิ่อให้เภสัชกรที่สนใจการทำงานที่สหรัฐอเมริกา ป็นข้อมูลเบื้องต้นในการที่ดำเนินการ ทั้งการสอบ Naplex, การสอบ Toefl ซึ่งผมก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจและเตรียมความพร้อมอยู่เช่นกัน เว็บไซต์นี้จะรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สำหรับเภสัชกรที่เตรียมตัวที่จะไปทำงานที่สหรัฐอเมริกา ทั้งหนังสือ เว็บไซต์ที่สำคัญ และเอกสารการติดต่อที่สำคัญ ส่วนหนึ่งของข้อมูลได้มาจากบทความ เรื่อง"โอกาสเภสัชกรในอเมริกา" ของ เภสัชกร กฤติยา มาลา
คำแนะนำ ติชม ขอคำแนะนำ New โปรดติดต่อที่
Facebook หรือ Us pharm
E-mail คือ uspharm@gmail.com จะเป็นสิ่งที่เป็นกำลังใจให้ผู้สร้าง Blog
ขอขอบคุณ โดย เว็บมาสเตอร์ Tinlaganan S.

ปล. เนื่องจากมีบทความยาวขึ้น หากไม่เห็นข้อความด้านล่าง กรุณากดที่ older post.
20 ธันวาคม 2011 Note กำลังจะเพิ่มข้อมูลและย้ายเว็บไปที่ http://fpgeesep2008.blogspot.com/ เร็วๆนี้ครับ
แล้วจะเอาแนวข้อสอบและการเตรียมตัวของการสาม FPGEE ด้วยครับ



อัตราค่าตอบแทน

Pharmacist intern
22.5 $
ต่อชั่วโมง
หลังจากได้รับอนุญาตให้สอบ NAPLEX
33.5 $
ต่อชั่วโมง
Pharmacist
55 $
ต่อชั่วโมง
ทำงานวันหยุด
1.5
เท่าของอัตราปกติ
ค่า relocation
2,500 $
ต่อชั่วโมง
ค่าเซ็นสัญญาทำงานประจำที่เดียว 3 ปี
45,000 $

หนังสือแนะนำสำหรับข้อสอบต่างๆ



FPGEE Review Guides
1. Reference Guide for Foreign Pharmacy Licensing Exam, 2001
Author: Manan Shroff
ISBN: 097079312X
168 pp.
$60.00
Order online at: http://www.pharmacyexam.com/
Phone: Rexam at 443-474-6335 begin_of_the_skype_highlighting 443-474-6335 end_of_the_skype_highlighting or 410-737-1330

2. Foreign Pharmacy Graduates Equivalency Examination, 1999
Author: Jack Rudman
ISBN: 0837350824
$49.95

Pharmacy Practice/NAPLEX Review Guides

1. NAPLEX Candidate’s Review Guide, Version 5.0
Developed by NABP
Includes NAPLEX Competency Statements from which test questions are based, as well as information on the structure and format of the test and provides tutorials.
Available to download at www.nabp.net under the examinations, review guides link.

2. Comprehensive Pharmacy Review, 4th Edition, 2001
Authors: Leon Shargel, Larry N. Swanson, Alan H. Mutnick and Paul F. Souney
ISBN: 0781721474
1,200 pp.
$40.00
Order online at: www.aphanet.org
Phone: APhA at 1-800-878-0729

3. Comprehensive Pharmacy Review: Practice Exams, 4th Edition, 2001
Authors: Alan H. Mutnick, Paul F. Souney, Leon Shargel
ISBN: 078173195X
208 pp.
$25.95
Order online at: www.aphanet.org
Phone: APhA at 1-800-878-0729

4. Appleton & Lange's Review of Pharmacy, 7th Edition, 2000
Authors: Gary D. Hall and Barry S. Reiss
ISBN: 0071360883
384 pp.
$39.95

5. Mastering Pharmacy Licensure & Certification: A Case-Based Review, 2000
Authors: David Kosegarten, Douglas J. Pisano, F. Randy Vogenberg
ISBN: 0071345388
359 pp.
$34.95

6. Reference Guide for Pharmacy Licensing Exam, 2000
Author: Manan Shroff
ISBN 0970793103
456 pp.
$60.00
Order online at: www.pharmacyexam.com/index.asp
Phone: Rexam at 443-474-6335 or 410-737-1330

สามารถหาได้จากร้านหนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ มหิวิทยาลัยมหิดล และซื้อได้จาก internet เช่น amazon.com



Pharmacy Law/MPJE Review Guides
1. MPJE Candidate’s Review Guide, Version 2.0
Developed by NABP
Includes MPJE Competency Statements from which test questions are based, as well as information on the structure and format of the test and provides tutorials.
Available to download at www.nabp.net under the examinations, review guides link.

2. Strauss’s Federal Drug Laws and Examination Review, 5th Edition, Revised 2000
Author: Steven Strauss
ISBN 1566769787
442 pp.
$49.95
Order online at: www.aphanet.org or www.crcpress.com
Phone: CRC Publishing 1-800-272-7737

3. Guide to Federal Pharmacy Law, 2nd Edition, 2001
Authors: Barry S. Reiss and Gary D. Hall
ISBN: 0071345388
302 pp.
$43.95


แนวข้อสอบเป็นเป็นคอมพิวเตอร์เบส ดาวโหลดได้ที่นี่

http://rapidshare.com/files/418734040/Computer_base_test.rar

ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ

ข้อมูลข้างล่างนี้เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายหลักๆ เท่านั้น เพราะในความจริงแล้วแต่ละคนมีค่าใช้จ่ายมากน้อยแตกต่างกันไป แล้วแต่

1. ก่อนได้งาน
1.1 ค่าสมัครสอบ TOEFL ibt 160$ ประมาณ 5,300 บาท
1.2 ค่าสมัครสอบ FPGEE 785$ ประมาณ 31,400 บาท
1.3 ค่า Notary public 30$ ประมาณ 1,200 บาท
1.4 ค่าแปลเอกสารสมัครสอบ 720 บาท
1.5 ค่าขอวีซ่าท่องเที่ยว+PIN 4,400 บาท
1.6 ค่าตั๋วเครื่องบินไปอเมริกา (ไป-กลับ) ประมาณ 55,000 บาท
1.7 ค่าใช้จ่ายขณะสอบที่อเมริกา (โรงแรม อาหาร พาหนะ) ประมาณ 30,000 บาท
รวม ประมาณ 128,020 บาท

แต่ยังไม่ได้รวมค่าเรียน TOEFL, ค่าหนังสือสอบ FPGEE, ค่าเดินทางภายในประเทศค่าส่งไปรษณีย์และอื่นๆ ถ้าหากเราสอบไม่ผ่านค่าใช้จ่ายก็ต้องเสียเพิ่มอีก

2. หลังได้งาน (ช่วงเดินทาง, รอ SSN และ Intern license ก่อนจะได้เงินจากนายจ้าง)
2.1 ค่าธรรมเนียมขอวีซ่า+PIN 4,400 บาท
2.2 ค่าตั๋วเครื่องบินไปอเมริกา (เที่ยวเดียว) ประมาณ 30,000 บาท
2.3 ค่าใช้จ่ายในอเมริกา 1 เดือน (ที่พัก อาหาร พาหนะ) ประมาณ 60,000 บาท

รวม ประมาณ 94,000 บาท
ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น สอบใบขับขี่ ซื้อรถยนต์ เป็นต้น

ขั้นตอนไปสู่การเป็นเภสัชกรในอเมริกา



การไปทำงานเป็นเภสัชกรที่อเมริกานั้นมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ที่เสียไปจะเป็นเวลาเตรียมตัวสอบและเวลารอคอย การไปสู่ความสำเร็จเราต้องใช้ความพยายามอย่างสูงและต้องใช้ความสามารถทางภาษาอังกฤษอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าภาษาเราดีมากอยู่แล้ว จะทำให้เราสามารถประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นและประหยัดเงินได้เยอะมาก ดังนั้นขอให้มีความตั้งใจแน่วแน่ เพราะหากเราเกิดท้อและล้มเลิกกลางคัน จะทำให้เราเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
คุณสมบัติเบื้องต้นที่จะต้องมีคือเรียนสาขาเภสัชศาสตร์มาอย่างน้อย 5 ปี ขั้นตอนไปสู่การเป็นเภสัชกรในอเมริกา ผู้เขียนสรุปไว้ 15 ข้อเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งทุกขั้นตอนเราสามารถทำเองได้ทั้งหมด

1. ทำความรู้จักกับเว็บไซต์ www.nabp.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของ National Association of Boards of Pharmacy เราต้องติดต่อกับองค์กรนี้หากต้องการเป็นเภสัชกรในอเมริกา เข้าไปแล้วทางซ้ายมือให้คลิกตรง examniation program แล้วคลิกที่ FPGEE/FPGEC ตรงส่วนนี้จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับว่า ทำอย่างไรเพื่อ จะ ได้ทำงานเป็นเภสัชกร ในอเมริกา รวมถึงการสอบต่างๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลที่ใหม่ที่สุดกับเรา


2. ศึกษาข้อมูลของรัฐต่างๆ ในอเมริกาและ
ตัดสินใจว่ารัฐไหนที่เราต้องการที่จะไปทำงานและไปอยู่ จากนั้นไปหาข้อมูลของ Board of Pharmacy ของรัฐที่เราสนใจ โดยไปที่ www.nabp.net อีกครั้งและเเข้าไปแล้วทางซ้ายมือให้คลิกตรง Boards of pharmacy เราก็จะเจอ link ไปหาเว็บไซต์ของ Board ที่เราต้องการ เนื่องจากแต่ละรัฐมีกฎหมายเป็นของตัวเองและข้อกำหนดต่าง ๆ ของแต่ละ Board ก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราต้องศึกษาข้อมูลว่า Board ของรัฐที่เราสนใจต้องการคุณสมบัติอะไรบ้างเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำที่สุด

3. เราต้องสอบ TOEFL (Test of English as a Foreign Language) ให้ผ่าน เมื่อสมัยก่อนTOEFL ยังไม่มี speaking รวมอยู่ เราต้องสอบTOEFL CBT (Computer based test) ให้ผ่านด้วยคะแนนรวม 213 และต้องไปสอบ TSE (Test of spoken English) ซึ่งเป็นการสอบพูดภาษาอังกฤษ ให้ผ่านด้วยคะแนน 50 (เต็ม60) ประเทศไทยไม่มีศูนย์สอบ TSE เราต้องไปสอบที่สิงคโปร์หรือมาเลเซีย แต่ตอนนี้ TOEFL แบบใหม่ได้รวม speaking ไว้ด้วยแล้ว ซึ่งแบบใหม่นี้เรียกว่า TOEFL iBT (Internet based test) ทำให้เราไม่ต้องสอบ TSE อีกต่อไป แต่คะแนนที่เราต้องทำได้ก็ละเอียดมากขึ้น โดยต้องทำให้ได้ดังนี้

Listening : 18Structure/Writing : 24Reading : 21
Speaking : 26
ให้ไปที่ www.toefl.org เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับ TOEFL iBT รวมถึงวิธีการสมัครสอบ ค่าสอบ ศูนย์สอบ และตอนสมัครอย่าลืมกรอกรหัสให้ ETS ส่งผลสอบไปที่ FPGEC โดยตรง

4. สมัคร FPGEC (Foreign Pharmacy Graduate Examination Committee) Certification Program โดยการสมัคร สอบ FPGEE (Foreign Pharmacy Graduate Equivalency Examination) ซึ่งเป็นข้อสอบเทียบความรู้ว่าเภสัชกรต่างชาติมีความรู้เทียบเท่าเภสัชกรอเมริกาหรือไม่ซึ่งจะวัดความรู้ทางด้านต่าง ๆ ดังนี้
• General Sciences (15%), Pharmaceutical Sciences (30%), Biomedical/Clinical Sciences (35%) andEconomic, Social, and Administrative Sciences (20%)
• ค่าสมัครสอบ 785 $
• ข้อสอบเป็น multiple choices ทั้งหมด 300 ข้อ เช้า 3 ชั่วโมง 150 ข้อ บ่าย 3 ชั่วโมง 150 ข้อ
• คะแนนเต็ม 150 คะแนนผ่านคือ 75• จัดสอบเพียง 2 ครั้งต่อปี ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม
• ไม่มีศูนย์สอบนอกประเทศอเมริกา เราต้องบินไปสอบที่อเมริกา ซึ่งศูนย์สอบมี 3 แห่งคือ
- New York, NY
- North Lake (Chicago), IL
- San Mateo (San Francisco), CA
วิธีสมัครสอบ FPGEEa) ไปที่ www.nabp.net และขอใบสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์
b) ใบสมัครและระเบียบต่างๆ จะถูกส่งมาให้ตามที่อยู่ที่เราให้ไว้
c) กรอกใบสมัครและเตรียมเอกสารต่างๆ ที่ระบุไว้ให้เรียบร้อย ซึ่งก็จะมี รูปถ่าย 2 รูป, transcript, ใบปริญญาบัตร และใบประกอบโรคศิลป์ ทุกอย่างต้องแปลภาษาอังกฤษ โดยทรานสคริปต์และใบปริญญาบัตรขอที่สำนักทะเบียนมหาวิทยาลัยที่เราเรียนจบมา ส่วนใบประกอบโรคศิลป์ขอได้ที่สภาเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี (ค่าแปล 300 บาท) และเอกสารทุกอย่างให้ปิดผนึกด้วย ขอไว้อย่างละ 2 ชุดแต่ปิดผนึกชุดเดียวก็ได้ อีกชุดเก็บไว้ใช้ต่อไป
ในส่วนใบสมัครที่มีช่องให้ notary public เซ็นชื่อ เราต้องไปใช้บริการนี้ที่สถานทูตอเมริกา ค่าบริการก็ 30$ (1200 บาท) แต่ถ้าเราอยู่ที่ประเทศอเมริกาแล้วให้ใช้บริการนี้ที่ธนาคาร โดยเราต้องเซ็นชื่อของเราต่อหน้า notary public ห้ามเผลอเซ็นก่อน ส่วนการส่งเงินค่าสมัครสอบให้ส่งเป็น money order ให้เราไปซื้อที่ธนาคารที่มีการ exchange เงิน เช่น ธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น
d) ส่งใบสมัคร Form 100 และ ค่าสมัคร 700 $ ไปที่ FPGEC
e) ส่งใบ ECE application กับใบแปลปิดผนึกของทรานสคริปต์, ใบปริญญา, ใบประกอบโรคศิลป์ และค่าธรรมเนียม 85 $ ไปที่ ECE
f) จากนั้นประมาณ 3 เดือนถ้าทุกอย่างเรียบร้อยเราก็จะได้ “Authorization to test” เป็นใบแจ้งว่าเราได้รับอนุญาตให้สอบแล้ว จากนั้นให้เรารีบไปจองศูนย์สอบทางเว็บไซต์ที่เค้าแจ้งมาเพราะศูนย์สอบบางแห่งจะเต็มเร็วมาก พอเลือกศูนย์สอบเสร็จไม่นาน admission ticket ก็จะถูกส่งมาที่บ้านเรา
g) ไปขอวีซ่าท่องเที่ยว (B2) ที่สถานทูตอเมริกา การขอวีซ่าเป็นเทคนิคของแต่ละคน แนะนำให้ไปดูเว็บไซต์ที่ให้ไว้แล้วในตอนต้น ว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง และเตรียมตัวสัมภาษณ์อย่างไร
h) เดินทางไปอเมริกาเพื่อไปสอบ จากนั้นก็กลับมาที่ประเทศไทย
i) ผลสอบจะส่งมาที่บ้านประมาณ 1-2 เดือนหลังจากวันสอบ
j) ถ้ามีปัญหาข้อสงสัยติดต่อ NABP โดยตรงได้ที่ custserv@nabp.net

หมายเหตุ : เราสามารถสอบ FPGEE หรือ TOEFL iBT ก่อนก็ได้ FPGEC จะเก็บคะแนนของเราไว้จนกว่าเราจะสอบผ่านทั้งสองข้อสอบ และเมื่อเราส่งผลสอบไปให้ FPGEC แล้วผลสอบจะไม่มีวันหมดอายุ


5. เมื่อเราสอบ TOEFL iBT และ FPGEE ผ่านแล้ว อีกประมาณ 3 เดือนหลังจากที่เราส่งคะแนนอันสุดท้ายไป ทาง FPGEC จะส่ง ‘FPGEC Certificate’ มาให้เราFPGEC certificate เป็นใบประกาศว่าเราได้สอบผ่านข้อสอบที่ NABP กำหนดขึ้นมาแล้ว ซึ่งเราจะได้นำใบนี้ไปใช้เวลาขอ Internship license กับ Board of pharmacy และเวลาสมัครงาน นายจ้างโดยมากจะจ้างคนที่มี Certificate แล้วเท่านั้น

6. ในขณะที่เรากำลังรอ Certificate เราควรจะหาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่มี และข้อมูลของนายจ้าง ให้ได้มากที่สุด เภสัชกรสามารถทำงานได้หลายอย่างเช่น งานในร้านยา โรงพยาบาล บริษัทวิจัยยา โรงงานผลิตยา และ Long term care pharmacy เป็นต้น แต่ผู้เขียนมีประสบการณ์การติดต่อกับร้านยาเท่านั้น จึงขอให้ข้อมูลในส่วนของร้านยาเท่านั้น โดยปกติร้านยาใหญ่ๆ ที่มีสาขาทั่วประเทศมีแนวโน้มจะจ้างงานเภสัชกรต่างชาติง่ายกว่าโรงพยาบาล เพราะว่าเค้าจะขยายสาขาทั่วประเทศ 30-40 สาขาต่อปีทำให้เค้าต้องการเภสัชกรจำนวนมาก ตัวอย่างร้านยาใหญ่ๆ เช่น
www.walgreens.comwww.cvs.comwww.riteaid.com
และร้านยาอื่นๆ เช่น
www.target.com
www.kmart.comwww.walmart.comและในแต่ละรัฐก็จะมีร้านยาอีกหลายๆ ร้าน ซึ่งให้เราใช้ www.google.com ค้นหาได้เลย
ส่วนโรงพยาบาล บริษัทที่ทำวิจัยยาและอื่นๆ ที่เหลือนั้น ผู้เขียนไม่มีประสบการณ์การติดต่อถ้าใครสนใจก็ลองค้นหาจาก google แล้วติดต่อเองได้โดยตรงเลย การติดต่อนายจ้างนั้นเราควรเขียน email ไปหานายจ้างที่เราสนใจจะทำงานด้วยเพื่อถามว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ทำงานกับเค้าและคุณสมบัติอะไรบ้างที่เค้าต้องการ นายจ้างจะตอบกลับค่อนข้างเร็ว (ประมาณ 1 –2 วัน) และบอกสิ่งที่เค้าต้องการโดยละเอียด หรือถ้าเค้าไม่จ้างเค้าก็จะบอกเลย แต่ถ้าเราอยู่ที่อเมริกาแล้วเราจะเดินเข้าไปถามเลยก็ได้
7. เมื่อเราได้รับ FPGEC certification แล้ว ให้เราสมัครขอ pharmacist intern license กับ Board of pharmacy ของรัฐที่เราสนใจ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ และเอกสารที่ต้องใช้จะบอกไว้ในเว็บไซต์ของแต่ละ Board แล้ว เมื่อเราสมัครแล้วและเรามีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ทาง Board ก็จะส่ง จดหมาย “ Deficiency of Social Security Number” เป็นจดหมายที่แจ้งว่าคุณสมบัติพร้อมแต่เราขาดแค่ Social Security Number (SSN)ซึ่งเป็นเลขที่สำคัญมาก ทาง Board จะไม่สามารถออก license ใดๆได้ ถ้าเราไม่มี SSN ส่วนจะทำอย่างไรให้ได้ SSN ให้อ่านในข้อต่อไป

8. ให้สมัครงานในตำแหน่ง Pharmacist intern ในบริษัทที่เราเล็งไว้แล้ว ให้ลองสมัครหลายๆ แห่ง เพราะว่าแต่ละแห่งจะมีข้อเสนอแตกต่างกัน และตำแหน่งที่มีอาจจะอยู่ในที่ที่เราไม่อยากไปอยู่ วิธีการสมัครงานก็ให้แนบไฟล์ต่าง ๆ ดังนี้ไปกับอีเมล
- Resume- FPGEC certification
- Deficiency of SSN letter
แล้วให้เขียน cover letter ดีๆ เป็นเนื้อหาในอีเมลของเรา ถ้าเค้าสนใจเราเค้าก็จะตอบกลับมาทางอีเมลและบอกข้อเสนอต่างๆ แล้วไม่นานนักเค้าก็จะโทรมาหาเราเพื่อทำการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เราควรเตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลา และถ้าเค้าต้องการจ้างเราเค้าอาจจะบอกเราตอนสัมภาษณ์จบ ขั้นตอนนี้ถ้าเราอยู่ที่อเมริกาแล้วเราอาจเดินไปยื่นเอกสารสมัครงานเองเลยก็ได้

9. เมื่อเราได้งานแล้วนายจ้างจะบอกให้เราส่งเอกสารเพื่อเตรียมยื่นขอวีซ่าทำงานชนิด H1B ซึ่งเอกสารต่างๆ จะใช้ทั้งต้นฉบับภาษาไทยและฉบับแปลภาษาอังกฤษแต่ใช้เฉพาะสำเนา เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ resume, transcript, ใบปริญญาบัตร, ใบประกอบโรคศิลป์, FPGEE certificate, Deficiency of SSN letter และ passport ทุกหน้า
เมื่อนายจ้างได้เอกสารแล้วนายจ้างจะเริ่มยื่นขอวีซ่า H1B และจ่ายค่าธรรมเนียมการขอประมาณ 2000$ ให้เรา วันที่นายจ้างสามารถเริ่มยื่นให้เราได้คือ 1 เมษายนของทุกปี (ไม่สามารถยื่นเร็วกว่านี้ได้) การดำเนินการอนุมัติวีซ่าจะใช้เวลาประมาณ 90-150 วัน เมื่อเราได้รับอนุมัติแล้วนายจ้างจะส่งแบบฟอร์ม I-797 มาให้เรา จากนั้นเราต้อ
งเตรียมเอกสารต่างๆ และใบเสร็จค่าธรรมเนียมไปขอวีซ่าที่สถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยอีกครั้ง สำหรับคนที่ขอวีซ่าขณะเรียนอยู่ที่อเมริกา เมื่อได้อนุมัติแล้วก็ต้องกลับมาประเทศไทยเพื่อ stamp visa

วีซ่า H1B จะมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีนั้นๆ เราสามารถเข้าประเทศอเมริกาได้ 10 วันก่อนที่วีซ่าจะมีผล ถ้าจำนวนคนขอวีซ่าชนิดนี้ถึงจำนวนที่เค้ากำหนดไว้คือ 65,000 คนต่อปี แล้วเรายังหางานทำไม่ได้หรือได้งานแล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นขอวีซ่า เราก็ต้องรอยื่นใหม่ปีหน้า วีซ่า H1B ครั้งแรกที่ขอจะมีอายุ 3 ปี (หรืออาจน้อยกว่า) และสามารถขอต่ออายุได้แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 6 ปี ถ้าต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมให้ไปที่ http://travel.state.gov/visa/temp/types/types_1271.html หรือ http://www.uscis.gov/



สำหรับคนที่ขอวีซ่าขณะเรียนอยู่ที่อเมริกา ถ้าเดินทางออกนอกอเมริกเมื่อไรต้องไป stamp visa ที่สถานทูตอเมริกา


10. เดินทางไปอเมริกา หาที่พักให้เรียบร้อยจากนั้นไปขอ SSN จาก social security office ที่อยู่ใกล้ที่สุด ให้ไปที่เว็บไซต์ www.socialsecurity.govพื่อหา office ที่ต้องการ และดูว่าต้องใช้เอกสารบ้างอะไรในการขอ SSN
ใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์จึงจะได้ SSN
11. ส่ง SSN ไปให้ Board of pharmacy จากนั้น Board ก็จะส่ง Intern license card/certificate มาให้เรา

12. เมื่อเราได้ Intern license แล้วก็เริ่มทำงานได้ และเก็บสะสมชั่วโมงให้ครบตามที่ Board กำหนด

13. เมื่อเก็บชั่วโมงครบแล้ว ทาง Board จะอนุญาตให้เราสมัครสอบ NAPLEX (North American Pharmacist Licensure Examination) ซึ่งเป็นข้อสอบใบประกอบโรคศิลป์เภสัชกร ที่วัดความรู้ทางเภสัชศาสตร์ การสอบใช้คอมพิวเตอร์สอบ ลักษณะข้อสอบเป็นปรนัย 185 ข้อ คำถามจะเป็นแบบเป็นเรื่องราวแล้วให้ตอบ เช่นให้ข้อมูลประวัติผู้ป่วยมาแล้วถามคำถาม เป็นต้น ถ้าต้องการทราบรายละเอียดข้อสอบและการสมัครสอบให้ไปที่ www.nabp.net
14. หลังจากที่เราสอบผ่าน NAPLEX แล้ว ก็ให้มัครสอบ MPJE (Multistate Pharmacy Jurisprudence Examination) ซึ่งเป็นข้อสอบกฎหมาย ซึ่งข้อสอบจะอ้างอิงจาก national blueprint of pharmacy jurisprudence competencies และเนื่องจากแต่ละรัฐมีกฎหมายที่ต่างกัน ข้อสอบจึงมี part ที่เน้นกฎหมายของรัฐนั้น ๆ ด้วย ข้อสอบเป็นแบบปรนัยมีทั้งหมด 90 ข้อ สอบด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมให้ไปที่ www.nabp.net
15. หลังจากที่เราสอบผ่านทั้ง NAPLEX และ MPJE แล้ว เราก็จะได้เป็นเภสัชกร (licensed pharmacist) หลังจากที่เราได้เป็นเภสัชกรแล้ว ถ้าเราต้องการย้ายรัฐ เราสามารถโอน license ได้ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nabp.net


ส่งไปที่
สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม
อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกกระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง
จ.นนทบุรี
11000
ฉบับละ 100 บาท
สามารถดูแบบฟอร์มต่างๆ ที่ link นี้ http://www.pharmacycouncil.org/main/offiice.php (updated on 16 Nov 2010)

Note การขอ Publib Notarial สามารถขอได้ที่สถานฑูตอเมริกา โดยการนัดเวลา มีวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 07.45 รายละเอียดดูได้ที่สถานฑูตอเมริกา
1. เข้าเว็บสถานฑูตเพื่อที่จะนัดหมาย โดยไปที่ Service เลือก how to appoinment.
2 นำรูปและใบสมัครไปให้ครบ รวมทั้ง passport+80 $US

การสมัคร ECE ซองเอกสารจำเป็นต้องได้รับการ seal + ประทับตรามหาลัย สำหรับผนึกจดหมาย พร้อมลายเซ็นทับ ไม่งั้นเค้าจะตีกลับ ส่งเอกสารไปกับ draft ของ ธนาคารกรุงเทพโดยใส่ชื่ิผู้รับเป็น ECE หลังจากนั้นก็จะได้เอกสารดังรูป หลังจากนั้น 1 เดือน


การสมัครสอบ FGREE นอกจากกรอกใบสมัครและNotify จากสถานฑูตอเมริกาแล้ว จำเป็นต้อง certify copy เอกสารที่มีรูปถ่ายเช่น passport โดยสถานกงศุล ฉบับละ 200 บาท ใช้เวลา 3 วัน หากต้องการทันที จะฉบับละ 400 บาท สามารถให้ส่งทางไปรษณีย์ได้ ราคา 50 บาทcertify copy เอกสารที่มีรูปถ่าย เพื่อidentify รูปถ่าย
นอกจากนี้ ใบประกอบยังต้องใส่ซองที่ seal ด้วย


ยกตัวอย่างนะครับ เอกสารที่ต้องใช้

1. ทรานสคริปชั่นจากมหาลัยที่ถูกติดผนึกจากมหาลัย
2. ใบประกอบที่ถูกติดผลึกจากสภาเภสัช
3. .รูปภาพ 2 รูป และสำเนาของ passport ที่ได้รับการรับรองจากสำนักทนายเอกชนที่ใส่ซองปิดผนึกโดยเอกชน
4.ใบสมัครสอบโดย Notary publication อาจเป็นสถานฑูตอเมริกาหรือเอกชนก็ได้
เอา1-4 มารวมกันในซองใหญ่ แล้วให้สำนักทนายเอกชน ผลึกรวมกันเลย ส่วนใหญ่สำนักงานเอกชนจะยอมผนึกให้ครับ



ผ่านแล้ว

วีซ่า

ก่อนที่จะทราบขั้นตอนการเป็นเภสัชกรในอเมริกานั้น ขอเล่าเกี่ยวกับวีซ่าชนิดต่าง ๆ ที่ควรรู้ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อน เพราะหลายคนจะสงสัยเรื่องวีซ่ากันมาก ชนิดของวีซ่าอเมริกาแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้คือ


1. Nonimmigrant visa คือ วีซ่าชั่วคราว หมายความว่าไปอเมริกาแล้วจะต้องกลับมาประเทศเรา แบ่งคร่าวๆ ได้ดังนี้ (เอาเฉพาะที่เราควรรู้ เพราะมีหลายชนิดมาก)



1.1 Tourist visa (B2) ก็คือวีซ่าท่องเที่ยว ไปอเมริกาเพื่อเที่ยว เพื่อเยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อน การได้มาซึ่งวีซ่าท่องเที่ยวเราต้องแสดงหลักฐานให้ท่านกงสุลพอใจว่าเราจะกลับมาประเทศไทยแน่ๆ ไม่ได้จะไปหางานทำที่โน่น ถ้าเราบอกว่าเราต้องการไปทำงาน เราจะถูกปฏิเสธวีซ่าทันที ระยะเวลาของวีซ่ามีหลากหลายตั้งแต่ ไม่กี่วันจนถึงสูงสุดคือ 10 ปี แต่การได้วีซ่าหลายๆ ปี ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าไปอยู่อเมริกาได้เป็นเวลาหลายปี แต่หมายความว่าจะเข้าอเมริกากี่ครั้งก็ได้ภายในระยะเวลาหลายปีนั้น เช่นถ้าเราได้วีซ่าท่องเที่ยวระยะเวลา 5 ปี ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถไปอยู่ที่นั่นได้เป็นเวลา 5 ปีแล้วค่อยกลับ แต่เราจะอยู่ได้แต่ละครั้งนานเท่าไรขึ้นอยู่กับด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ที่เราจะเจอเมื่อลงเครื่องบินที่สนามบินซักแห่งในอเมริกา ซึ่งปกติเค้าจะให้อยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน ถ้าเกิดอยู่เกิน 6 เดือนก็ถือว่าผิดกฎหมาย ส่วนการจะได้มาซึ่งวีซ่า 10 ปีนั้น ไม่มีใครทราบว่าต้องตอบคำถามอย่างไรจึงจะได้ กงสุลจะพิจารณาจากหลักฐานต่างๆ ที่เรายื่นไปบวกกับความโชคดีของเราเองด้วย วีซ่าท่องเที่ยวไม่สามารถทำงานใดๆ ในอเมริกาได้ การลักลอบทำถือว่าผิดกฎหมาย



1.2 Student Visa (F1) ก็คือวีซ่านักเรียน การจะได้มาซึ่งวีซ่านักเรียนก็ต้องให้โรงเรียนที่อเมริการับเราเข้าเรียนก่อน ซึ่งต้องมีหลักฐานจากทางโรงเรียนมาประกอบการขอวีซ่า (I-20) ไม่ว่าจะเป็นเรียนภาษา เรียนดิโพลมา หรือเรียนปริญญา และตอนสัมภาษณ์ต้องยืนยันว่าเราจะกลับมาหลังจากเรียนจบแน่ๆ ระยะเวลาของวีซ่านั้นขึ้นกับระยะเวลาที่เราไปเรียน แต่จะอยู่ได้นานเท่าไรก็ขึ้นกับ ตม.อีกเช่นกัน วีซ่านักเรียนทำงานไม่ได้เช่นกัน ยกเว้นงานใน campus ที่เราเรียนอยู่ซึ่งต้องติดต่อกับทาง campus เองหลังจากไปถึงที่เรียนแล้ว



1.3 Temporary working visa คือวีซ่าทำงานชนิดชั่วคราว อันนี้มีหลายชนิดแต่ที่เกี่ยวข้องกับเราคือ H-1B ซึ่งเป็นวีซ่าสำหรับวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถหาคนอเมริกันมาทำงานได้ (ขาดแคลน) เช่น แพทย์ เภสัชกร วิศวกร IT อาจารย์ รวมถึง นางแบบ เป็นต้น การจะได้มาซึ่ง H1B จะต้องหางานให้ได้ก่อน แล้วนายจ้างจะเป็นคนขอวีซ่าชนิดนี้ให้จากอเมริกา เราไม่สามารถขอวีซ่าชนิดนี้เองได้ วีซ่าชนิดนี้เป็นวีซ่าชั่วคราวแบบพิเศษเพราะว่าเราไม่ต้องแสดงหลักฐานว่าจะกลับมาเมืองไทย และสามารถขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (ขอGreen Card)ได้ต่อไป



ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก http://www.uscis.gov/graphics/services/tempbenefits/ecrd.htm#anchorH1B



2. Immigrant visa เป็นวีซ่าถาวรหรือ Green Card ซึ่งถ้าได้ใบนี้แล้วเราจะเป็น permanent resident สามารถอยู่อเมริกาได้ตลอด ทำงานได้เลย และสามารถที่จะสอบเป็น American citizen ได้ต่อไป วิธีการจะได้ Green Card นั้นมีหลายวิธี เช่น ลูกขอให้พ่อแม่, พ่อแม่ขอให้ลูก, พี่น้องขอให้พี่น้อง, นายจ้างขอให้ลูกจ้าง, ได้จากการแต่งงานกับคนอเมริกัน หรือได้จาก Green card lottery program เป็นต้น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://travel.state.gov/visa/immigrants/info/info_1339.html



ถ้าต้องการทราบข้อมูลเรื่องวีซ่าเพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่ http://bangkok.usembassy.gov/ ไปตรง visas to USA และขอแนะนำให้เข้าไปในเว็บไซต์ www.pantip.com/cafe/klaibann, http://www.usvisa4thai.com/ และ http://www.murthyforum.atinfopop.com/ ซึ่งเป็นเว็บบอร์ดโพสต์ถามตอบที่จะมีเพื่อนๆ หลายคนที่มีความรู้ประสบการณ์มาให้ความรู้ด้านวีซ่า ขั้นตอนการเตรียมตัวและประสบการณ์ การสัมภาษณ์วีซ่า ซึ่งจะทำให้เราเตรียมตัวในการขอวีซ่าได้ดีขึ้น